testspeedinternet

log เก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์
 
ATX LOG SEVER เป็นระบบที่มีสามารถในการจัดการด้าน Firewall สมบรูณ์แบบ มีฟังชันการตรวจสอบการใช้งานระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่มีประสิทธิภาพ เหมาะกับ โรงเรียน สถานศึกษา ห้างร้าน บริษัท องค์กรขนาดเล็กไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ รวมทั้งร้านบริการอินเตอร์เน็ต ซึ่งจำเป็นต้องติดตั้ง ซึ่งระบบการทำงานจะใช้เซิฟเวอร์ ทั้งหมด 2 ตัวเพื่อให้ตรงตามข้อกำหนด พ.ร.บ. 2550 ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ axt log sever

SEVER ตัวที่ 1 ATX Authentication server เป็นตัวจัดการคุณสมบัติดังนี้
  • ระบบสามารถรองรับการใช้งานได้ 30 Users
  • สามารถป้อนชื่อผู้ใช้ในระบบได้ด้วยตัวเอง และเก็บข้อมูลเพื่อระบุตัวบุคคลที่ใช้งานอินเตอร์เน็ต
  • มีระบบแคชเพื่อลดปัญหาการใช้งานอินเตอร์เน็ต พร้อมบันทึกค่าการใช้งานอินเตอร์เน็ตของแต่ละผู้ใช้งานคอมไพล์ตาม พ.ร.บ. 2550
  • ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนรหัสผ่านเองได้
  • มีสำรองข้อมูลเพื่อป้องกันข้อมูลสูญหาย
  • สามารถนำ Log มาวิเคราะห์สาเหตุของการบุกรุกได้
  • มีระบบส่งข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ส่งไปยังเครื่อง ATX Centralized log ได้ตาม พ.ร.บ.
  • ระบบสามารถ Sync กับเวลาสากลของประเทศไทย ได้โดยใช้ NTP (Network Time Protocol) ระบบฯ มีการตรวจสอบ (Authentication) ก่อนใช้งานอินเทอร์เน็ต
  • ระบบจัดเก็บข้อมูลการใช้งาน Website, Security, การใช้งานเว็บไซต์ ตาม พ.ร.บ. ไม่น้อยกว่า 90 วัน
  • ระบบสามารถเก็บข้อมูลของผู้ใช้ในแต่ละ User ได้ เช่น เวลาในการเข้าใช้งาน เวลาเริ่มและเวลาสิ้นสุด ,IP Address , Mac address ประจำเครื่อง ,User Name ,เก็บข้อมูลการจราจร
  • ระบบสามารถตรวจสอบสิทธิการใช้งานและการเข้าถึงระบบ โดยมาตรฐานความปลอดภัย SSL (Secure Socket Layer)
  • ระบบสามารถเป็น Firewall ได้โดยจะทำหน้าที่ป้องกันการโจมตีจากเครือข่ายได้



SEVER ตัวที่ 2 ATX Centralized log Sever เป็นตัวรับ log file จากเครื่อง ATX Authentication server
  • เครื่อง Centralized log จะทำการเข้ารหัส (Data Encryption) เพื่อไม่ให้สามารถแก้ไขได้ log file ได้ ซึ่งมีขบวนการจัดเก็บอย่างปลอดภัย ด้วยระบบ ATX LOG SEVER สามารถติดตั้งใช้งานได้ทันที
  • มีกระบวนการจัดเก็บและเข้ารหัส (Data Encryption) log file ซึ่งสะดวกในการใช้งาน
  • สามารถจัดเก็บและเข้ารหัส (Data Encryption) log file โดยระบบจะตั้งเวลาจัดเก็บ และลบอัตโนมัติ
  • มีสำรองข้อมูลเพื่อป้องกันข้อมูลสูญหาย



atx log sever
ภาพแสดงการทำงานของระบบโดยรวม



รายละเอียดของเซิฟเวอร์ ในระบบ ATX Log Server ได้ทำตาม พ.ร.บ. 2550 โดยจะมีเครื่องเซิฟเวอร์ 2 เครื่อง ดังที่ได้กล่าวข้างต้นคือ SEVER ตัวที่ 1 ATX Authentication และ SEVER ตัวที่ 2 ATX Centralized log โดยมีรายละเอียดของเซิฟเวอร์ดังนี้



CPU
Intel Dual Core Xeon Processor 1.86 GHz
HDD
HDD 250x2 GB SATA II 7.2K rpm
Memory
DDR-2 667 MHz ECC 2R 2 GB(1x1024)
VGA
Integrated ATIES1000 (RN50) SVGA Controller with 32 MB Memory
Drive
DVD Combo Drive
Support
Support ฟรีทั้ง Hardware และ Software 1 ปี



งบประมาณทั้งชุด 199,000 บาท (ราคานี้ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) สนใจขอรายละเอียดเพิ่มเติม



คุณสมบัติของการ streaming
หลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ พ.ศ.2550 ไอซีที แจงการจัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ 90 วัน ตาม ที่ได้มีกระแสข่าวเกี่ยวกับประกาศกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เรื่อง หลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ พ.ศ.2550 ที่ผู้ให้บริการจะต้องจัดเก็บข้อมูลเอาไว้ 90 วัน โดยจะต้องตั้งนาฬิกาของอุปกรณ์ทุกชนิดให้มีความเที่ยงตรงแม่นยำตามเวลาอ้าง อิงสากล ซึ่งประกาศนี้จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 23 สิงหาคม 2551 นั้น กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ขอชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว ว่า
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
ซึ่งมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม 2550 ได้มีประกาศกระทรวงฯ เรื่อง "หลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ พ.ศ.2550" ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษามาตั้งแต่วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ.2550 ประกาศนี้ได้ผ่อนผันให้ผู้ให้บริการทางคอมพิวเตอร์มีเวลาเตรียมตัว ก่อนที่จะต้องเริ่มเก็บข้อมูลการจราจรทางคอมพิวเตอร์ตามบริการประเภทต่างๆ แตกต่างกัน เช่น
data log
ผู้ให้บริการที่ประกอบกิจการโทรคมนาคมและกิจการกระจายภาพและเสียง ให้เริ่มเก็บสามสิบวันหลังจากประกาศ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตสาธารณะ ISP เริ่มเก็บหนึ่งร้อยแปดสิบวันหลังจากประกาศ ส่วนผู้ให้บริการประเภทอื่นๆ นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ให้เริ่มเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์เมื่อพ้นหนึ่งปีนับจากวันที่ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา ซึ่งจะครบในวันที่ 23 สิงหาคม 2551 นี้ สำหรับผู้ให้ บริการในกลุ่มที่จะต้องเริ่มเก็บข้อมูลจราจรตามประกาศในวันที่ 23 สิงหาคมนั้น จะประกอบไปด้วย ผู้ให้บริการเข้าถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Access Service Provider) เช่น ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ผู้ประกอบการที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตให้กับห้องพัก หรือสถานบริการ รวมถึงองค์กรที่ให้บริการให้กับบุคลากรภายในองค์กรของตนเอง กลุ่มผู้ให้บริการเช่าระบบคอมพิวเตอร์เพื่อให้บริการโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ (Hosting Service Provider) เช่น ผู้ให้บริการเช่า Web Server ผู้ให้บริการรับฝากข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต ผู้ให้บริการเข้าถึง e-Mail เป็นต้น และกลุ่มผู้ให้บริการร้านอินเทอร์เน็ต เช่น ร้านเกมออนไลน์ ร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าประกาศดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ แต่ผู้ให้บริการอย่าได้ตื่นตระหนก เพราะการจัดเก็บข้อมูลการจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่ทางกฎหมายบังคับนั้น มีเจตนาเพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำหรับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการระบุและหาตัว ผู้กระทำความผิด ดังนั้น ถ้าองค์กรใดไม่มีผู้ใช้บริการคอมพิวเตอร์เพื่อไปกระทำความผิดตามกฎหมายฯ ฉบับนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจหรือแม้แต่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพ.ร.บ.ฯ ก็ไม่สามารถดำเนินการเข้าขอตรวจสอบข้อมูลการจราจรทางคอมพิวเตอร์ได้ เพราะโดยเจตนาของตัวกฎหมายแล้ว ข้อมูลการจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่ผู้ให้บริการต้องจัดเก็บนั้น เป็นไปเพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวน ในกรณีที่มีเหตุอันควรให้เชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพ.ร.บ.นี้ โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพ.ร.บ.ฯ เท่านั้น จึงจะมีอำนาจหน้าที่เฉพาะที่จำเป็น เพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดและหาตัวผู้กระทำ ความผิด ซึ่งอำนาจหน้าที่นั้นจะมีในเรื่อง การทำหนังสือสอบถาม เรียกดูข้อมูลการจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือทำสำเนาข้อมูล เป็นต้น สำหรับ แนวทางในการปฏิบัติของผู้ให้บริการในเรื่องการจัดเก็บข้อมูลการจราจรทาง คอมพิวเตอร์นั้น ผู้ให้บริการจะต้องเร่งดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนด โดยกระทรวงไอซีทีได้พยายามเผยแพร่ความรู้ในด้านการจัดเก็บข้อมูลการจราจรทาง คอมพิวเตอร์ และให้คำแนะนำการใช้เครื่องมือในรูปแบบของซอฟต์แวร์ที่เป็นลักษณะของ Open-Source เพื่อให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดสำหรับผู้ให้บริการซึ่งสามารถ Download ได้จากเว็บไซต์ของกระทรวงไอซีที ส่วนการปรับตั้งนาฬิกาของ อุปกรณ์บริการทุกชนิดให้ตรงกับเวลาอ้างอิงสากล เพื่อให้ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่จัดเก็บมีความถูกต้อง และนำมาใช้ประโยชน์ได้จริงนั้น ผู้ให้บริการสามารถปรับเทียบมาตรฐานเวลา ให้มีความเที่ยงตรงและไม่ให้ผิดพลาดเกินกว่า 10 มิลลิวินาทีตามประกาศฯ ได้จากหน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดทำและรักษาเวลามาตรฐานประเทศไทยตามระบบสากล อาทิ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ ซึ่งได้มีการสถาปนาหน่วยวัดมาตรฐานเวลาแห่งประเทศไทยใหม่เมื่อเร็วๆ นี้ เพื่อให้มีความละเอียดและเที่ยงตรงมากยิ่งขึ้น

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย โดย เน็ตไทยแลนด์ดอทคอม บริษัท เอทีเอ็กซ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด
36/18 อาคารอาคารพีเอสทาวเวอร์ ชั้น 2 สุขุมวิท21 คลองเตยเหนือ วัฒนา กรุงเทพฯ
โทรศัพท์ (ระบบอัตโนมัติ): 0-2664-0488 แฟกซ์ ต่อ 112 หมายเลขทะเบียนประกอบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 7100403001230